การดูแลรักษาศาสนสมบัติและสาธารณสถาน
ศาสนสมบัติ
ศาสนสถาน เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ เป็นต้น
ศาสนวัตถุ เช่น โต๊ะหมู่ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
ศาสนธรรม เช่น หนังสือ พระไตรปิฎก หนังสือธรรมะ
ศาสนพิธี เช่น พิธีเวียนเทียนมาฆบูชา พิธีตักบาตร เป็นต้น
ศาสนทายาท เช่นพระพิกษุ สามเนร อุบาสก อุบาสิกา เป็นต้น
สาธารณสถาน
คือ สถานที่ที่คนในสงคมใช้ร่วมกัน ไม่ได้เป้นกรรมสิทธิ์ของคนใดนหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น สวนสาธรณะ โรงเรียน ถนน ฯลฯ คนในสังคมจึงควรช่วยกันดูแลรักษาให้สะอาดและทำนุบำรุงให้มีสภาพดีเสมออีกทั้งต้องช่วยกันพัฒนาให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
ศาสนสมบัติก็เช่นกัน พุทธศาสนิกชนทุกคนถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันจึงต้องช่วยกันดูแลรักษาทำนุบำรุงให้คงอยู่ อีกทั้งยังต้องช่วยกันพัฒนาให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป แม้ไม่ใช้หน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบโดยตรงก็ตาม เมื่อความเสียหายจะเกิดชึ้นต่อสาธารณสมบัติหรือศาสนสมบัติ ก็ย่อมเป็นหน้าที่ที่จะต้องช่วยกันแก้ไข เพราะผลเสียหายที่เกิดย่อมส่งผลกระทบมาถึงทุกคนอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ วิธีการและขั้นตอนการดูแลรักษา ได้ขยายความไว้แล้วในเรื่องที่ผ่านมา
หลักการดูแลรักษาสาธารณสมบัติหรือศาสนสมบัติที่ได้ผลมากที่สุดคือ หมั่นตรวจสอบหรือตรวจตราดุบ่อยๆ จะทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หากเปี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมจะได้รีบแก้ไขได้ทันท่วงที อีกทั้งยังเห็นถึงช่องทางที่จะพัฒนาให้เจริญรุ่งเรื่องยิ่งๆ ขึ้นไปอีกด้วย
เหตุแห่งความเสื่อมศรัทธา หรือการล้มละลายของ องค์กร
หากบุคลากร์ในองค์กรใด ปล่อยปละละเลยวัสดุสิ่งของที่เป็นขององค์กรต่างคนต่างนิ่งดูดาย เพราะเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ที่ตนรับผิดชอบแล้ว ความหายนะล้มมละลายย่อมมาเยือนองค์กรนั้นๆ แต่เหตุสำคัญที่จะทำให้องค์กรล้มละลายพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจาได้ตรัสไว้ใน กุลสูตร อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต สรุปความได้ดังนี้